วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

พิธีเปิดโครงการดนตรีบำบัดสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี
5 สิงหาคม 2554 สถานแรกรับเด็กและเยาวชน สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี

 
หลักการและเหตุผล
          ปัจจุบันปัญหาความก้าวร้าวรุนแรงของเด็กและเยาวชนในสังคม  นับเป็นปัญหาเร่งด่วนที่จำเป็นต้องได้รับการดูแล แก้ไขและป้องกันอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ  การปราบปรามและลงโทษเป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าที่ปลายเหตุ    ไม่สามารถหยุดยั้งพฤติกรรมที่เป็นอันตรายได้  การเข้าใจปัญหาและสาเหตุ  เข้าใจวัยรุ่นและความต้องการของวัยรุ่น รวมทั้งให้โอกาสแก่เด็กและเยาวชนที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงในความดูแลของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรีให้ได้รับบริการ  คำแนะนำและส่งเสริมการแสดงออกในทางที่ถูกต้อง เหมาะสม จึงจะเป็นการป้องกัน แก้ไขปัญหาได้ถูกจุดรวมทั้งพัฒนาปรับเปลี่ยนความคิด พฤติกรรมได้ถูกต้อง เหมาะสม

                                                    นายสิน สิริไสยาสน์
ตัวแทนจากสมาคมผู้ผ่านศึกและทหารนอกราชการ ประธานกล่าวเปิดโครงการ   
 และนางสุรัสวดี เกษรจันทร์ รักษาราชการแทนผู้อำนวยการ
สถานพินิจฯ  กล่าวรายงานวัตุประสงค์การดำเนินโครงการ


        จึงนำกิจกรรมดนตรีตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ของวัยรุ่น ของสังคม  มาให้เยาวชนได้ร่วมกิจกรรม  ถือเป็นการบำบัด  แก้ไข  ป้องกันปัญหายาเสพติดให้แก่เยาวชนในด้านต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นด้านจิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ช่วยในการผ่อนคลายความตึงเครียดและในการออกกำลังกายเสริมสร้างสุขภาพ  เนื่องจากดนตรีมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราการหายใจ  อัตราการเต้นของหัวใจ  ชีพจร  ความดันโลหิต  การตอบสนองของม่านตา  ความดึงตัวของกล้ามเนื้อและการไหลเวียนของเลือด  เช่น จังหวะและลีลา(Phythm) ช่วยสร้างเสริมสมาธิ(Concentration) และช่วยในการผ่อนคลาย(Relax)  ระดับเสียง(Pitch) เสียงในระดับต่ำและระดับสูงปานกลาง จะช่วยให้เกิดความรู้สึกสงบ  ความดัง(Voume/Intensity) พบว่าเสียงที่เบานุ่มจะทำให้เกิดความสงบสุข สบายใจในขณะที่เสียงดังจะทำให้เกิดความเกร็ง กระตุกของกล้ามเนื้อได้ ความดังที่เหมาะสมจะช่วยสร้างระเบียบในการควบคุมตนเองได้ดี  มีความสงบและเกิดสมาธิ  ทำนองเพลง(Malody)  ช่วยในการระบายความรู้สึกส่วนลึกของจิตใจ ทำให้เกิดความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์และลดความวิตกกังวล 



วัตถุประสงค์  
          ๒.๑  ใช้ดนตรี เพลงในการบำบัด ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเด็กและเยาวชน
๒.๒  เสริมสร้างจุดแข็งในตัวเด็กและเยาวชนในทักษะการสื่อสารการทำงานประสานสัมพันธ์กันทางร่างกาย
๒.๓  เสริมในแผนการบำบัดรายบุคคล  สำหรับเด็กและเยาวชนที่มีความต้องการพิเศษด้านดนตรี
          ๒.๔  เพื่อเสริมสร้างค่านิยมและทัศนคติที่ดีในการประกอบอาชีพสุจริต  
๒.๕  เพื่อให้เด็กและเยาวชนเกิดความรู้สึกมีคุณค่าต่อสังคม  ซึ่งจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม 
๒.๖  เพื่อส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการรับทราบและร่วมวางแผนแก้ไข ปัญหาเด็กและ
       เยาวชน
          ๒.๗  เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม  ทำให้เกิดความสำนึก รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า
๒.๘  เพื่อสามารถนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในชีวิตได้






วัน/เวลา ในการดำเนินกิจกรรม
          เดือนพฤษภาคม ๒๕๕๔ ถึง กันยายน ๒๕๕๕ 



 
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
          ร้อยละ ๘๐ ของเด็กและเยาวชนที่เข้าร่วมโครงการได้มีการปรับสภาพจิตใจให้อยู่ในภาวะสมดุลมีมุมมองในเชิงบวกผ่อนคลายความตึงเครียด ลดความวิตกกังวล เสริมสร้างและพัฒนาทักษะการเรียนรู้ ความจำ เสริมสร้างสมาธิ พัฒนาทักษะทางสังคม การสื่อสาร การใช้ภาษา พัฒนาการเคลื่อนไหวปรับลดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม และไม่กระทำผิดซ้ำ

ผู้ประสานโครงการ

            นางกัญญา วรรณศรี หัวหน้าสถานแรกรับเด็กและเยาวชนจังหวัดจันทบุรี



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น