วันเสาร์ที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมพละ - จิตอาสา  "พัฒนาสนามเปตอง" สถานพินิจฯ จันทบุรี


ประวัติเปตอง

           สันนิษฐานว่ากีฬาเปตอง เกิดขึ้นครั้งแรกที่ประเทศกรีก เมื่อประมาณ 2000 ปี ก่อนคริสตกาล โดยใช้ก้อนหินทรงกลมโยนเล่นว่าใครจะโยนได้แม่นยำกว่ากัน เมื่อโรมันครอบครองกรีกก็ได้รับเอาการเล่นกีฬาประเภทนี้ด้วย และนำไปเผยแพร่ในฝรั่งเศสทางตอนใต้เมื่อกรีกเข้าครอบครองฝรั่งเศส ในฝรั่งเศสการเล่นลูกบูลได้พัฒนาเป็นไม้เนื้อแข็งถากเป็นรูปทรงกลมแล้วใช้ตะปูตอกรอบ ๆ เพื่อเพิ่มน้ำหนักให้เหมาะมือ

ประวัติเปตองในประเทศไทย
          ประเทศไทยเป็นประเทศที่ 17 ของโลกที่เป็นสมาชิกของ "สหพันธ์เปตองนานาชาติ" ผู้นำกีฬาเปตองเข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทยให้เป็นที่รู้จัก และเป็นทางการคนแรก คือ อาจารย์จันทร์ โพยหาญ เมื่อปี พ.ศ. 2519 และต่อมาได้มีคณะรณรงค์เผยแพร่กีฬาเปตอง คือ นายศรีภูมิ สุขเนตร (นักเรียนเก่าฝรั่งเศส) ซึ่งมีความรู้ความสามารถในการเล่นกีฬาเปตอง พร้อมด้วยนายชัยรัตน์ คำนวน และนายดนัย ตรีทัศนถาวร และต่อมาก็ได้ร่วมกันก่อตั้ง "สมาคมเปตองแห่งประเทศไทย" เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2519 ปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อเป็น "สหพันธ์เปตองแห่งประเทศไทย" โดยมี นายศรีภูมิ นุขเนตร เป็นนายกสมาคมคนแรก
             และในวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2520 ได้จัดให้มีการชิงแชมป์ประเทศไทยขึ้น ณ สนามฮอกกี้ (สนามเทพหัสดินทร์ในปัจจุบัน) สนามกีฬาแห่งชาติ กีฬาเปตองเริ่มเผยแพร่ไปสู่ภาคอย่างกว้างขวางในราวปี พ.ศ. 2522 โดยเฉพาะทางภาคใต้ ทางสมาคมได้เชิญโค้ชเปตองชาวฝรั่งเศส นายโอเตลโล โตวาเตลลี มาช่วยสอนและเปิดอบรมตามจังหวัดต่างๆทางภาคใต้ ซึ่งก็ได้รับความสนใจมาก ถึงขนาดมีการจัดแข่งขันชิงแชมป์ภาคใต้ขึ้น ตอนนั้นก็มีการเริ่มเล่นกันมากในหมู่ข้าราชการ และในหน่วยงานเอกชนมีการตั้งชมรมเปตองตามจังหวัดต่างๆ
          ในปัจจุบันได้แพร่หลายไปทั่วทุกภาค และกำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆอีกทั้งกีฬาเปตองได้แพร่หลายเข้าสู่ระบบการศึกษาของไทย อีกทั้งถูกเลือกให้เป็นกิจกรรมนันทนาการในสถานศึกษา นอกจากนั้นหน่วยงานต่างๆทั้งของรัฐและเอกชนได้พิจารณาเห็นว่ากิจกรรมเปตองเป็นกิจกรรมกีฬาและนันทนาการที่ส่งเสริมความสามัคคีและลดความเครียดจากภารกิจ หน้าที่การงานได้ดี
(ข้อมูล : guru.sanook.com)

           การพัฒนา ปรับปรุงสนามกีฬาเปตอง สถานพินิจฯ จังหวัดจันทบุรี โดยเด็กและเยาวชนเพื่อเป็นการส่งเสริมกิจกรรมนันทนาการแก่เด็กและเยาวชน ตลอดจนเจ้าหน้าที่และประชาชนทั่วไป ให้รู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ เป็นการผ่อนคลาย และส่งเสริมสุขภาพ  อีกทั้งยังเป็นกิจกรรมจิตอาสา เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนรู้จักการช่วยเหลือ บำเพ็ญประโยชน์อีกทางหนึ่ง


กติกาเปตอง

ขนาดสนาม

สนามต้องมีพื้นเรียบกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นไม้พื้นคอนกรีต และพื้นหญ้า ไม่เหมาะสำหรับกีฬาประเภทนี้

อุปกรณ์การเล่นเปตอง

1. ลูกบูล

เป็นลูกทรงกลมด้านนกลวง ทำด้วยโลหะ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 70.5-80 มิลลิเมตร มีน้ำหนักระหว่าง 650 – 800 กรัม มีเครื่องหมายของโรงงานผู้ผลิต ตัวเลขแสดงน้ำหนักและเลขรหัสปรากฏอยู่บนลูกบูลอย่างชัดเจน และควรเป็นลูกบูลที่ได้รับการรับรองจากสหพันธ์เปตองนานาชาติและสมาคมเปตองแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี

2. ลูกเป้า

เป็นลูกทรงกลม แต่ทำด้วยไม้หรือวัสดุสังเคราะห์ มีเส้นผ่าศูนย์กลางระหว่าง 25-35 มิลลิเมตร และอาจทาสีได้ แต่ต้องเป็นสีที่สามารถมองเห็นได้ชัดเจนในขอบเขตของสนาม

3. สนามเล่น

สนามต้องพื้นเรียบกว้าง 4 เมตร ยาว 15 เมตร พื้นไม้ พื้นคอนกรีตและพื้นหญ้า ไม่เหมาะสมสำหรับกีฬาประเภทนี้

4. เทปสายวัด





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น